วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


มงคลสูตรคำฉันท์

ประวัติผู้แต่ง



        พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมวงศ์จักรีตลอดระยะเวลา 15 ปี ที่ทรงครองราชย์ (พ.ศ.2453-2468ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครอง การต่างประเทศ และโดยเฉพาะด้านอักษรศาสตร์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภท เช่น บทละคร บทความ สารคดี นิทาน นิยาย เรื่องสั้น และทรงใช้งานพระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ
        บทพระราชนิพนธ์หลายเรื่องยังได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดวรรณคดีหรือเป็นหนังสือที่แต่งดี อาทิ หัวใจนักรบ เป็นยอดของบทละครพูดร้อยแก้ว มัทนะพาธา เป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์ พระบาทสมด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ซึ่งมีความหมายว่า นกปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ และใน พ.ศ.2515 พระองค์ยังทรงได้รับการะประกาศยกย่องจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือ ยูเนสโก (UNESCO) ให้ทรงเป็น 1 ใน 5 นักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ของไทย


ที่มาของเรื่อง

       มงคลสูตรคำฉันท์  ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเนื้อหาว่าด้วยมงคล 38 อันเป็นพระสูตรหนึ่งในพระไตรปิฎก พระสุตตันเตปิฎก พระสุตตันตปิฎก    ขุททกนิกายหมวดขุททกปาฐะ  
        คำว่า มงคล หมายถึง เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้าหรือทางก้าวหน้า และ สูตร หมายถึง คำสอนในพระพุทธศาสนา มงคลสูตร จึงหมายความว่า พระธรรมหรือคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จะนำมาซึ่งความสุขและความเจริญก้าวหน้า
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
        เพื่อให้ตระหนักว่าสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใดก็เพียงผลมาจากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้น ไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่เราได้  นอกจากตัวเราเอง

                                                      ลักษณะการแต่ง
กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 แทรกคาถาบาลี



เนื้อเรื่องย่อ

       สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงมงคลอันสูงสุด 38 ประการ  ไว้ในมงคลสูตร  ซึ่งเป็นพระสุตรสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา  มงคลสูตรปรากฏในพระสุตตันตปิฏก  ขุททกนิกาย  หมวดขุททกปาฐะ
       พระอานนทเถระได้กล่าวถึงที่มาของมงคลสูตรว่า  ท่านได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ณ เชตวันวิหาร  กรุงสาวัตถี  มงคลสูตรนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจคำถาม  คือ  พระพุทธเจ้าทรงเล่าให้พระอานนท์ฟังว่า  มีเทวดาเข้ามาทูลถามพระองค์เรื่องมงคล  เพราะเกิดความโกลาหลวุ่นวายขึ้นทั้งในหมู่เทวดาและมนุษย์  ที่มีลัทธิเรื่องมงคลแตกต่างกันเป็นเวลานานถึง 12 ปี  ท้าวสักกเทวราชจึงทรงมอบหมายให้ตนมาทูลถาม  พระพุทธองค์จึงตรัสตอบเรื่องมงคล 38 ประการ  ต่อจากราตรีนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเรื่องมงคลนี้แก่พระอานนท์อีกครั้งหนึ่ง

ข้อคิดที่ได้รับ

  • -     มงคลสูตรนี้สามารถนำไปสู่ความเจริญและเกิดสิริมงคลแก่ชีวิต
-           -      ทำให้สังคมโดยรวมสงบสุขและเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

ขุททกนิกาย   =  ชื่อนิกายหนึ่งใน ๕ นิกายของพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย 
                          เป็นหมวดพระ
คติ                 =  วิธีแนวทาง แบบอย่างในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง 
                          แบบการดำเนินชีวิต
ชินสีห์            = พระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า แปลว่าผู้ชนะ
ทะเลวน          = การเวียนว่ายตายเกิดหรือสงสารวัฏ
ทุษะ               = คือ โทษ หมายถึง ความไม่ดี ความชั่ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น